รายละเอียดหลักสูตร
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย :
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ :
Bachelor of Business Administration Program
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) :
บริหารธุรกิจบัณฑิต (การบริหารอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) :
บธ.บ. (การบริหารอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) :
Bachelor of Business Administration (Manufacturing and Service Industry Management)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) :
B.B.A. (Manufacturing and Service Industry Management)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี 134 หน่วยกิต
หลักสูตรปริญญาตรี 3 ปี 104 หน่วยกิต
หลักสูตรปริญญาตรี 2 ปี  85 หน่วยกิต
รูปแบบของหลักสูตร
จัดการเรียนการสอนรูปแบบสหกิจศึกษาและเสริมทักษะภาษาอังกฤษ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1. เจ้าหน้าที่หรือพนักงานตามสถานประกอบการด้านการผลิต การวางแผนการผลิตและการให้บริการ
2. นักวิจัยด้านการบริหารการผลิต
3. เจ้าของกิจการ นักลงทุน
4. พนักงานองค์กรภาครัฐ
5. บุคลากรฝึกอบรมในสถานประกอบการ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถทางด้านการบริหารอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ ตามความต้องการของภาคธุรกิจและสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ
2. เพื่อพัฒนาและเพิ่มศักยภาพของบัณฑิตให้มีขีดความสามารถทางด้านการบริหารอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ พร้อมทั้งการศึกษาค้นคว้า วิจัย และพัฒนา
3. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรมและจริยธรรมในการประยุกต์ใช้วิชาการและวิทยาการใหม่ๆกับการบริหารจัดการที่ดีให้เข้ากับสถานการณ์หรือความต้องการขององค์กรได้
จุดเด่นเฉพาะของหลักสูตร
เป็นหลักสูตรที่รองรับการเปลี่ยนแปลงสภาวะทางเศรษฐกิจ โดยผสมผสานความรู้ด้านการบริหารและงานอุตสาหกรรมการผลิตและบริการเข้าด้วยกันในลักษณะของสหกิจศึกษา ที่มุ่งเน้นการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเพื่อให้บัณฑิตได้เรียนรู้ พัฒนาตนเอง และฝึกทักษะตามสภาพจริงในสถานประกอบการได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งสร้างความได้เปรียบให้กับบัณฑิตในการเข้าสู่ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมและบริการ
ผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา

ปีที่ รายละเอียด
1 มีความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานด้านสังคมศาสตร์ คณิตศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์ สามารถอธิบายความรู้พื้นฐานด้านการบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม ได้แก่ หลักการตลาด
องค์การและการจัดการสมัยใหม่ หลักการและทฤษฎีของกระบวนการผลิตในงานอุตสาหกรรมได้
2 สามารถอธิบายหลักการวางแผนการผลิต หลักการวิเคราะห์เชิงปริมาณ การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน การบริหารงานซ่อมบำรุงและความปลอดภัย และหลักการ
จัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานได้อย่างถูกต้อง
3 สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในการแก้ไขปัญหาด้านการบริหารอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ การศึกษางานในอุตสาหกรรม เป็นต้น
สามารถใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงานอุตสาหกรรมการผลิตและบริการได้ สามารถค้นคว้าและวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้ง มีทักษะการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้
ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
4 สามารถนำความรู้ทางด้านการบริหารธุรกิจ เทคโนโลยีในการปฏิบัติงานอุตสาหกรรมการผลิตและบริการไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติ และแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานได้
สามารถวิเคราะห์ปัญหา และแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาได้อย่างเหมาะสม

ระบบจัดการศึกษา
แบบทวิภาค 1 ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ โดย 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษา ไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
วัน  – เวลาในการเรียนการสอน
ภาคการศึกษาที่ 1 : เดือนกรกฎาคม – เดือนพฤศจิกายน
ภาคการศึกษาที่ 2 : เดือนมกราคม – เดือนพฤษภาคม
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
1. สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกสาขา หรือระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า หรือ
2. สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในสาขาวิชาช่างอุตสาหกรรม หรือสาขาวิชาอื่นๆ ที่คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรมเห็นชอบ หรือ
3. สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในสาขาวิชาช่างอุตสาหกรรม หรือสาขาวิชาอื่นๆ ที่คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรมเห็นชอบ และมีประสบการณ์ทำงานในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม อย่างน้อย 2 ปี
โครงสร้างหลักสูตร 4 ปี (วุฒิ ปวช. และ ม.6)
เรียนในวัน-เวลาทำการ (วันจันทร์ – วันศุกร์)

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 134 หน่วยกิต
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเฉพาะ 98 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร 2-3 ปี (วุฒิ ปวส. ที่ไม่มีประสบการณ์ทำงาน)
เรียนนอกเวลาทำการ (วันจันทร์ – วันศุกร์ 17.00 – 20.00 น. และวันเสาร์ 09.00 – 12.00 น.)

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 104 หน่วยกิต
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 12 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเฉพาะ 86 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร 2-3 ปี (วุฒิ ปวส. ที่มีประสบการณ์ทำงาน)
เรียนนอกเวลาทำการ (วันจันทร์ – วันศุกร์ 17.00 – 20.00 น. และวันเสาร์ 09.00 – 12.00 น.)

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 85 หน่วยกิต
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 12 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเฉพาะ 67 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

ระยะเวลาการศึกษา
– ผู้เข้าศึกษาวุฒิ ปวช. และ ม.6 ระยะเวลาการศึกษา 4 ปี
– ผู้เข้าศึกษาวุฒิ ปวส. ที่ไม่มีประสบการณ์ทำงาน ระยะเวลาการศึกษา 2 ปี + 1 เทอม
– ผู้เข้าศึกษาวุฒิ ปวส. ที่มีประสบการณ์ทำงาน ระยะเวลาการศึกษา 2 ปี

ค่าใช้จ่ายต่อภาคการศึกษา
หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี (วุฒิ ม.6) 25,000 บาท
หลักสูตรปริญญาตรี 2-3 ปี (วุฒิ ปวส.) 27,000 บาท

โครงสร้างหลักสูตรและคำอธิบายรายวิชา →

รายละเอียดการรับสมัครนักศึกษาใหม่ 2565